อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการตัดสินใจใช้บริการ
ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) จำแนกตามปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) กับการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ของ
ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่รับรู้ถึงบริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ด้านการรับรู้ความง่ายของการใช้เทคโนโลยีและด้านทัศนคติต่อการใช้งาน/ ความตั้งใจในการใช้งาน ตามลำดับ และพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปัจจัยลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ ด้านเพศ และอายุ ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) แตกต่างกัน ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปัจจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ ด้านเพศ ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) แตกต่างกัน และการยอมรับเทคโนโลยีระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ (X1) และด้านทัศนคติต่อการใช้งาน/ความตั้งใจในการใช้งาน เป็นปัจจัยมีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในทิศทางเดียวกัน ค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ปีการศึกษา 2565 The purpose of this study was to study the acceptance of telemedicine technology. (Telemedicine) The decision to use the telemedicine service system. (Telemedicine) acceptance of telemedicine technology (Telemedicine) and decision
to use telemedicine service system (Telemedicine) Classified by Demographic Factors
and the relationship between acceptance factors of telemedicine technology (Telemedicine) and the decision to use a telemedicine service system (Telemedicine) of the people in Bangkok and its vicinity. The questionnaire was used as a tool for
collecting data. which collects information from people who know of telemedicine
services (Telemedicine) in Bangkok and its vicinity, totaling 400 samples. Statistics used
in data analysis consisted of analysis of frequency, percentage, mean, standard
deviation. One-way ANOVA and Multiple Regression Analysis.
The results of the study revealed that respondents accepted telemedicine
technology. (Telemedicine) as a whole is at a level of high agreement. In descending
order, namely, the aspect of perceived benefits. Perceived ease of use of technology and attitude towards use/ intendment of use, respectively, and found that the
respondents had a decision to use telemedicine services (Telemedicine) as a whole is at a level of high agreement. The results of the hypothesis testing found that people
in Bangkok and its vicinity with different demographic factors, sex and age Resulting in the acceptance of telemedicine technology. (Telemedicine) is different. People in Bangkok and its vicinity. with different gender demographic factors Resulting in the decision to use the telemedicine service system. (Telemedicine) is different and the acceptance of telemedicine technology. (Telemedicine), perceived benefit (X1) and attitude towards use/use intention. is a factor influencing the decision to use the telemedicine service system. (Telemedicine) in the same direction.