การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพของบุคลากรในอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป
The Development of Educational Model for Short Course Program to Potential in Career for Person in Garage.
Date
2012Author
พงษ์ศักดิ์ ย้อยเสริฐสุทธ
วรพจน์ ศรีวงษ์คล
สมภพ ตลับแก้ว
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการ ประกอบอาชีพของบุคลากรในอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ ดา เนินการตามรูปแบบ และเพื่อประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่ได้พัฒนาขึ้น โดยดำ เนินการที่วิทยาลัยสารพัดช่างสระบุรีและสถานประกอบการ ประเภทอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วไป ในอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรีซึ่ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการศึกษาที่กำหนดขึ้น เป็นความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ เริ่มจากร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการการจัดการ ศึกษาสถานศึกษาจะรับผิดชอบการจัดการศึกษาในส่วนของเนื้อหาทฤษฎีและทักษะปฏิบัติงานพื้นฐาน ส่วน สถานประกอบการรับผิดชอบการจัดการศึกษาในส่วนของทักษะปฏิบัติงานอาชีพ โดยทำการวัดและ ประเมินผลร่วมกัน 2. การดำเนินการพัฒนาหลักสูตรที่สถานประกอบการต้องการ คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นใน รายวิชาช่างเดินสายไฟเครื่องยนต์แก๊สโซลีนหวัดฉีดโดยมีเนื้อหาทฤษฎีและทักษะปฏิบัติงานพื้นฐาน ที่เรียนใน สถานศึกษา จำนวน 45 ชั่วโมงและฝึกทักษะปฏิบัติงานอาชีพ ในสถานประกอบการ จำนวน 15 ชั่วโมง 3. การดำเนินการจัดการศึกษา มีผู้สนใจสมัครเรียน 43คน วิทยาลัย ฯ คัดเลือกมาเป็นผู้เรียน 10 คน ดา เนินการสอนเนื้อหาทฤษฎีและทักษะปฏิบัติงานพื้นฐาน ที่วิทยาลัยสารพัด ช่างสระบุรี45 ชั่วโมงและฝึก ทักษะปฏิบัติงานจริงในอาชีพ ที่อู่วรรณาเซอร์วิส 15 ชั่วโมง โดยใช้ผู้ชำนาญงานจากสถานประกอบการเป็น ผู้สอนทักษะปฏิบัติงานจริงในอาชีพ จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมร้อยละ82.95 4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษา พบว่าผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมากที่สุด (X4.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีเพียงสองข้อคำถามอยู่ในระดับพึงพอใจมากคือการเพิ่มจำนวนผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นและผู้เรียนจบ การศึกษา ร้อยละ 100 เจ้าของสถานประกอบการ มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด (X4.71) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีเพียงความสะดวกในการส่งบุคลากร เข้าร่วมการจัดการศึกษาอยู่ในระดับ มากครูผู้สอนมีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด (X4.79) เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุดทุกข้อคำถาม ผู้ชำนาญงานมีความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมากที่สุด (X4.50) เมื่อพิจาณาเป็นรายข้อพบว่าในส่วนของเรื่องระยะเวลาในการสอนทักษะปฏิบัติงาน อาชีพ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับครูผู้สอนในสถานศึกษาอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก ส่วนผู้จบการศึกษามี ความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมากที่สุด (X4.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจมากที่สุด