การพัฒนารูปแบบการจัดตั้งและการบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา
A Development of Establishment and Operation Models of University Business Incubation
View/ Open
Date
2012Author
หทัยชนก ตีรณวัฒนากูล
วรพจน์ ศรีวงษ์คล
สุราษฎร์ พรมจันทร์
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดตั้งและการบ่มเพาะ ดำเนินการจัดตั้งและบ่มเพาะ และประเมินผล รูปแบบการจัดตั้งและบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา รูปแบบการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้ กลยุทธ์การสรรหาผู้ก่อการที่มีคุณสมบัติเหมาะสม การหาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขามาเป็นผู้เขียนข้อเสนอโครงการจัดตั้งหน่วยบ่ม เพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาและมีจำนวนเพียงพอแก่ความจำเป็น การศึกษาดูงานและให้ความรู้ด้าน UBI การให้ผู้เชี่ยวชาญ แต่ละสาขาที่ผ่านการฝึกอบรมปฏิบัติการเขียนข้อเสนอโครงการฯ ตามกลุ่มหัวข้อสำคัญหลังจากได้รับอนุมัติข้อเสนอโครงการ ฯ จาก สกอ.แล้วให้ผู้เขียนแต่ละกลุ่มเป็นผู้ดำเนินงานตามหัวข้อสำคัญที่ไดเขียนไว้ในข้อ เสนอโครงการฯ โดยดำเนินการใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากอธิการบดีและสภามหาวิทยาลัยผลการส่งข้อเสนอโครงการฯ ให้สกอ. พิจารณา พบว่าข้อเสนอโครงการฯ ได้รับการพิจารณาให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพการดำเนินการ UBI ระดับดี เยี่ยม ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน UBI สกอ. และสามารถเร่งความเร็วในการจัดตั้งสำนักงานหน่วยบ่มเพาะ วิสาหกิจที่พร้อมดำเนินงานได้เร็วกว่าเกณฑ์ที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด ส่วนรูปแบบการบ่มเพาะ วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา ใช้กลยุทธ์การให้คณะกรรมการดำเนินงานเป็นแมวมองในการหาผู้ประกอบการเข้าร่วมบ่มเพาะ วิสาหกิจ การเร่งความเร็วในการเขียนแผนธุรกิจโดยจับกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการ อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาชีพและบริการธุรกิจ การให้ผู้ประกอบการเลือกทำเลในการดำเนินธุรกิจนอกพี้นที่การบ่มเพาะของ UBI และ UBI เป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านสถานที่ และ หรือให้อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมลงทุนและให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาชีพและบริการธุรกิจติดตามนิเทศการดำ เนินธุรกิจเป็นระยะ ผลการ ดำเนินงานตามรูปแบบการบ่มเพาะวิสาหกิจ พบว่า ผลการประเมินการดำเนินงานจัดตั้งและการบ่มเพาะวิสาหกิจโดย คณะกรรมการจาก สกอ. พิจารณาให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน (KPI) ของ สกอ. ทั้ง 3ข้อ ส่วนผลการประเมินประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของทั้งการจัดตั้งและการบ่มเพาะวิสาหกิจโดยใช้เครื่องมือและคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงาน UBI ตาม ระบบพี่เลี้ยงของ สกอ. ปี2550 ที่ตั้งเกณฑ์ไวต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 จากการประเมินผลการดำเนินงานพบว่า มีผลการ ดำเนินงานอยู่ในระดับ(ร้อยละ 93.64) การประเมินความพึงพอใจในรูปแบบการจัดตั้งและบ่มเพาะวิสาหกิจ พบว่าผู้เกี่ยวข้องมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.56)